วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน5


แบบฝึกหัดทบทวน

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 
ก.การศึกษา ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. การศึกษาตลอดชีวิต ง. มาตรฐานการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน ช. การประกันคุณภาพภายนอก ซ. ผู้สอน ฌ. ครู
ญ.คณาจารย์ ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา ฒ. ผู้บริหารการศึกษา ณ. บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ    
ก.การศึกษา
            “การศึกษาหมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อัน เกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
  ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
             “การศึกษาขั้นพื้นฐานหมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา

 ค. การศึกษาตลอดชีวิต
             “การศึกษาตลอดชีวิตหมายความว่า การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย 

ง. มาตรฐานการศึกษา
            “มาตรฐานการศึกษาหมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสา หรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

  จ. การประกันคุณภาพภายใน 
             “การประกันคุณภาพภายในหมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น เอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

ช. การประกันคุณภาพภายนอก 
             “การประกันคุณภาพภายนอกหมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา

 ซ. ผู้สอน 
            “ผู้สอนหมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับ ต่าง ๆ

  ฌ. ครู
            “ครูหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำ หน้าที่หลัก ทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

ญ.คณาจารย์ 
             “คณาจารย์หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำ หน้าที่หลัก ทางด้านการสอนและการวิจัยใน
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา 
            “ผู้บริหารสถานศึกษาหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน

ฒ. ผู้บริหารการศึกษา 
                “ผู้บริหารการศึกษาหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับ เขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป

 ณ. บุคลากรทางการศึกษา
             “บุคลากรทางการศึกษาหมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษารวมท้ั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำ หน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับ การจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้าง
ตอบ    หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
            ความมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษา (มาตรา 6-มาตรา 9)
            1. ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6)
                การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
            2. กระบวนการเรียนรู้(มาตรา 7)
                กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่ เสรีภาพความเคารพกฎหมายความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมศาสนาศิลปวัฒนธรรมของชาติการกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพรู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
           3. หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ(มาตรา 8)
                (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
                (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
                (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   
หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ(มาตรา 8)
                (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
                (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
                (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ 
การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดั้งนี้(มาตรา 9)
                (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
                (2) มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองคก์รปกครองส่วนท้องถิ่น
                (3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภท               การศึกษา
                (4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู              คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                (5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
                (6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน            องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ
        หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มีสาระสำคัญของหมวดนี้มีดังนี้(มาตรา 10-14) (ค าหมาน คนไค, 2543, 31)
                1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีอย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quaality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย(FreeEducation) (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
                2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
                3. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการสถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้น พื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่ว ไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ

          1. การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
          2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มี2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำ กว่า ปริญญา
           3. การศึกษาภาคบังคับ มีกำหนด 9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้น พื้นฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้น ปีที่9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
           4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้น พื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ
(1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
           5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายว่า ด้วยอาชีวศึกษา
           6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามทหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ

          1. การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
          2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับคือการศึกษาขั้น พื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลายหรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มี2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำกว่าปริญญา
          3. การศึกษาภาคบังคับมีกำหนด 9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
          4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ
                                (1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
                                 (2) โรงเรียน
                                 (3) ศูนย์การเรียน
          5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายว่า ด้วยอาชีวศึกษา
          6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 39 กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่โดยตรง การกระจายอำนาจดังกล่าว จะทำให้สถานศึกษาคล่องตัว มีอิสระในการบริหารจัดการ ตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based management: SBM) ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
             จากหลักการดังกล่าว จึงกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลโดยได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2546 ในมาตรา 35 ว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา 34 (2) เฉพาะที่เป็นโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ    ยึดหลักว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ ที่สุด
และต้องให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัดความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครู   ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ 
  เห็นด้วย เนื่องจากคนที่จะเป็น ครู   ผู้บริหารสถานศึกษาและ ผู้บริหารการศึกษาจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะครู คือ บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำ หน้าที่หลัก ทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน 
                และนักศึกษาครูอย่างดิฉันซึ่งได้ร่ำเรียนมาเป็นเวลา 5 ปี กว่าจะจบการศึกษา ก็ต้องได้รับใบประกอบวิชาชีพ ถึงจะไปเป็นครูได้ ไม่ใช่ให้คนที่เรียนคณะวิทยาศาสตร์ 4 ปี ไปเป็นครูโดยให้สอบใบประกอบวิชาชีพ หรือไม่มีใบประกอบวิชาชีพไปเป็นครู ซึ่งมันก็อาจจะจริงบ้างที่พวกที่เรียน 4 ปี อาจจะเก่งกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะเป็นครูได้โดยสมบูรณ์แบบเพราะพวกเขาไม่ได้ผ่านการเรียนในเรื่องของการสอนต่างๆ ซึ่งดิฉันคิดว่าการประกอบอาชีพครูต้องมีใบประกอบวิชาชีพ และต้องเรียนสายครูมาโดยตรง
                       
11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
ตอบ 
   จัดทำโครงการการร่วมบริจาคอุปกรณ์ทางการศึกษาโดยการนำกล่องรับบริจาคไปวางไว้ตามแหล่งชุมชนที่มีคนพลุกพล่านเพื่อขอรับบริจาคหนังสือ อุปกรณ์การเรียน หรือทุนการศึกษา และทำให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการศึกษา

12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
ตอบ     1.ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหา การจัดหา การเลือกใช้และการประเมินคุณภาพสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนและการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา
             2.จัดหาสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการพัฒนางานด้านวิชาการ
             3.เลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ผ่านการประเมินคุณภาพทางวิชาการ จากคณะกรรมการของสถานศึกษา
             4.ผลิต พัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งประเมินคุณภาพสื่อฯเพื่อเลือกใช้ประกอบการเรียนการสอน

อนุทิน 4


แบบฝึกหัดทบทวน

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ       รัฐธรรมนูญฉบับแรก ซึ่งเรียกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475”
ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
                เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ พระยามโนปกรณนิติธาดา
                ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช
2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ   หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
                มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
                มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดาเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
                มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์(ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกันตรงที่รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐ จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน และ รัฐพึงสนับสนุนการวิจัย ในศิลปวิทยา และวิทยาศาสตร์

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ในประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490  กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากหนัก ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517  ให้สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษาอบรม ตามความสามารถของบุคคลหน้าที่ของชนชาวไทย บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษาขั้นมูลฐาน ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด การจัดอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   เหมือนกันที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ   เนื่องจากการปรับเปลี่ยนให้ทันตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน 

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ  เมื่อ บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ กำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   ฉบับที่ 5-10  (พ. 2540-2550) และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นคิดว่าเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน โอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ  เพื่อความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกัน รวมถึงการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ได้มีการศึกษษที่เท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกชนขั้น

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ      บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลาบาก ต้องได้รับสิทธิตามสิทธิและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาองค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

อนุทิน 3


แบบฝึกหัด
คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ    เนื่องจากมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม  การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐ จึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น ระบบระเบียบแบบแผนที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นเกณฑ์ เกณฑ์สร้างความสัมพันธ์เหล่านี้ เราเรียกว่าบรรทัดฐานทางสังคม” (Social Norm) เป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นแบบแผนเพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
            เนื่องจาก กฎหมายมีเพื่อควบคุมพฤติกรรมและความขัดแย้งของมนุษย์ หากไม่มีกฎหมายมาควบคุมมนุษย์ก็คงมีพฤติกรรมที่ทำตามใจตนเองไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด ทำให้เกิดความขัดแย้งมากมาย เมื่อเกิดความขัดแย้งก็จะทำให้สังคมไม่มีความสงบสุข 

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ  ถ้าไม่มีกฎหมาย สังคมก็จะเกิดความวุ่นวาย มนุษย์ก็จะมีพฤติกรรมที่รุนแรงไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด เกิดความขัดแย้งมากมาย ขนาดตอนนี้มีกฎหมายสังคมยังเกิดเหตุการณ์มากมายไม่ว่าจะเป็น ปล้น ฆ่า ข่มขืน ทำร้ายกันต่างๆนาๆ  แล้วหากไม่มีกฎหมายขึ้นมาสังคมจะเลวร้ายขนาดไหน ดังนั้นสังคมจะอยู่ไม่ได้เลยหากไม่มีกฎหมาย

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
. ความหมาย ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
. ที่มาของกฎหมาย ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ    ก. ความหมาย            
                กฎหมาย คือข้อบังคับที่ทุกคนยึดถือและปฏิบัติเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมืองผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิดและถูกลงโทษ 
         
            ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
              1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาอธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
               2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับอันมิใช่คำวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์
               3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
              4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ
       
            ค. ที่มาของกฎหมาย
                1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
                2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน
                3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
                4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา
                5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่
     
      ประเภทของกฎหมาย
          กฎหมายภายใน มีดังนี้
                  1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                               1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
                               1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                   2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                                2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
                                2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                  3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสาบัญญัติ
                                 3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
                                 3.2 กฎหมายวิธีสาบัญญัติ
                 4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                                  4.1 กฎหมายมหาชน
                                  4.2 กฎหมายเอกชน
          กฎหมายภายนอก
                1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 
                2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ  ประเทศแต่ละประเทศ มีสังคมทุกประเทศ แต่ละประเทศมีการใช้ชีวิตของมนุษย์ในสังคมที่แตกต่างกันไป พื้นฐานพฤติกรรมของมนุษย์แต่ละประเทศก็แตกต่างกัน ประเทศใดต้องการให้ประเทศตนมีระบบระเบียบมาก ก็มีกฎหมายที่เข้มข้นมากเพื่อต้องการจัดระเบียบประเทศของตนเองให้ดี ประเทศใดที่มีการประนีประนอมไม่ค่อยจริงจังในพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น ก็มีการกำหนดกฎหมายที่หย่อนยาน ซึ่งทำให้ประเทศไม่ค่อยเป็นระเบียบเรียบร้อย  จึงเป็นไปได้ว่ากฎหมายสำคัญสำหรับทุกประเทศ ประเทศใดไม่มีกฎหมาย สังคมในประเทศนั้นก็จะไม่มีความสงบสุข และก็เป็นไปได้เช่นกันว่าแต่ละประเทศออกกฎหมายต่างกันประเทศใดมีกฎหมายที่เคร่งครัด ประเทศนั้นก็มีความสงบสุข มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าประเทศที่ออกกฎหมายหย่อนยาน

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ    กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ เพราะกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
            สภาพบังคับของกฎหมาย คือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา 

ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง 
ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะ

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
      ตอบ   แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด 

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ   ระบบกฎหมายมี  2  ระบบ
            1.   ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 
            2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้


8.  ประเภทของกฎหมายมีมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง
จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย
ตอบ   ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
               1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
               2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
               3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
             
  1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
             1.1.  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
              1.2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย   ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี    หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ

2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
              2.1.  กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
             2.2.  กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก

3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
              3.1.  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
               3.2.  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง       

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
        ตอบ     ศักดิ์ของกฎหมายคือ  เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร
                (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
                (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
                (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
                มีการแบ่ง ดังนี้
                 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                          
                 2.พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
                 3.  พระราชกำหนด                                                       
                 4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
                 5. พระราชกฤษฎีกา                                                     
                 6. กฎกระทรวง
                 7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                      
                 8. เทศบัญญัติ
                 9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทาร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทาผิดหรือถูก
ตอบ  เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองกันทุกคน แต่ถ้ารัฐบาลกระทำรุนแรงกับประชาชนแล้วสิทธิของประชาชนจะตั้งไว้เพื่อทำอะไร เพราะในรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า   
                1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
                3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
                4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
                เช่นนี้ หากรัฐบาลทำอย่างนั้นถือ เป็นการขัดขวางไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิของประชาชน

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ในความเข้าใจของข้าพเจ้า คำว่ากฎหมายการศึกษา ข้าพเจ้าเข้าใจว่าต้องเป็นกฎ ข้อบังคับ ต่างๆ  ที่เกี่ยวกับการศึกษาไทย ทั้งเกี่ยวกับสถาบัน ผู้สอน ผู้เรียน เพื่อให้การศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบมากขึ้น จึงได้มีกฎหมายการศึกษาขึ้นมา 

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ เมื่อเราไปประกอบอาชีพครู แล้วเราไม่มีความรู้ในเรื่องของกฎหมายการศึกษาเลย มันต้องเกิดผลกระทบกับเราอย่างแน่นอน ทำให้เราไม่รู้จักข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติ ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ ต่างๆที่มีผลต่อตัวเราเอง เมื่อเราไม่มีความรู้เหล่านี้ เราก็จะปฏิบัติตนให้เป็นครูที่ดีและมีความถูกต้องไม่ได้อย่างดีแน่นอน ดังนั้นการที่เราจะไปเป็นครูที่ดี เราต้องทราบในเรื่องของกฎหมายการศึกษาด้วย















วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน2



ตีกันทำไม?

ยกพวกตีกันเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยและได้ยินมาตลอดตั้งแต่เล็กจนโตเพียงแต่รูปแบบของการทะเลาะกันนั้นนับวันจะยิ่งรุนแรงทวีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอดีตอาวุธที่มักได้ยินก็จำพวก ไม้หน้าสาม เหล็ก ปืนปากกา แต่ปัจจุบันที่ได้ยินตามข่าวทั่วไปจะมีอาวุธจำพวก ปืน ดาบ สปาต้า ที่พกกันอย่างโจ่งแจ้งในที่สาธารณะ ส่วนใหญ่ที่เรามักจะได้ยินหรือได้เห็นตามข่าว ดังปรากฏอยู่ในภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเด็กช่างกล หรือกลุ่มเด็กสายอาชีวะ
สาเหตุส่วนใหญ่ที่เด็กทะเลาะกัน มักเป็นเรื่องของสถาบันที่เป็นคู่อริ เรื่องส่วนตัวจัดว่าน้อยมาก เมื่อยกพวกตีกัน ส่วนใหญ่แล้วจะตืกันในที่สาธารณะ ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่อยู่ในละแวกนั้น และยังสร้างความเสื่อมเสียให้แก่สถาบันของตนเอง จากที่ได้เห็นในข่าวบางครั้งก็จะมีผู้เคราะห์ร้ายโดนลูกหลง จนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รู้อิโหน่อิเหน่อะไรเลย แต่กลับต้องมาสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินโดยใช่เหตุ
เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทำไมถึงมีแต่พวกวัยรุ่นที่ยกพวกตีกัน ซึ่งก็อาจจะมาจากวัยนี้มีอารมณ์รุนแรงกว่าวัยอื่นๆ มีอารมณ์พลุ่งพล่าน ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ ขาดวามยับยั่งชั่งใจ ไม่เหมือนวัยผู้ใหญ่ แต่เชื่อว่าหากพวกเขาพ้นวัยนี้ พวกเขาก็จะคิดได้ แต่กว่าพวกเขาจะเป็นผู้ใหญ่ เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น
สมาชิกคนที่ 1 มีความคิดเห็นว่า: เริ่มต้นที่สถาบันของครอบครัว โดยครอบครัวต้องคอยดูแล เอาใจใส่ในตัวของนักเรียน/นักศึกษา และตอบให้กำลังใจแก่นักเรียน คอยรับฟังปัญหา
ผลดี: นักเรียนมีที่พึ่ง
ผลเสีย: บางครอบครัวไม่มีเวลาให้กับนักเรียน/นักศึกษา
             สมชิกคนที่ 2 มีความคิดเห็นว่า: ควรเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้โดยการใช้กฎหมายลงโทษพวกเขาอย่างจริงจังไม่มีการประณีประนอมใดๆทั้งสิ้น จับจริง ขังจริง ใช้กฎหมายเดียวกับผู้ใหญ่
ผลดี: อาจจะช่วยแก้ปัญหา เนื่องจากเด็กเหล่านี้อาจกลัวบทลงโทษของกฎหมาย
ผลเสีย: ทำให้นักเรียนคนนั้นหมดอนาคตไป
สมาชิกคนที่ 3 มีความคิดเห็นว่า : ให้สถาบันต่าง ๆ ใส่เครื่องแบบเหมือนกัน เมื่อนักเรียนสาเครื่องแบบเหมือนกันแล้ว ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นสถาบันใด
ผลดี : ช่วยลดความรุนแรง เหตุทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันได้
ผลเสีย : เมื่อเกิดเหตุทะเลาะวิวาท ประชาชนที่เห็นเหตุการณ์จะไม่สามารถแจ้งได้ว่าเป็นสถาบันใด
สมาชิกคนที่ 4 มีความคิดเห็นว่า: ให้นักเรียนที่มีเรื่องทะเลาะวิวาทออกจากสถาบัน โดยไม่ฟังเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น
ผลดี : สถาบันจะดีขึ้น ไม่มีนักเรียนที่คอยสร้างความเดือดร้อนให้กับสถาบัน
ผลเสีย : นักเรียนคนนี้ก็จะไปเป็นปัญหาของสังคมต่อไป
สมาชิกคนที่ 5 มีความคิดเห็นว่า: นำนักเรียนที่มีปัญหาทะเลาะวิวาทไปเข้าค่าฝึกวินัย ฝีกความอดทนกับทหาร
ผลดี : นักเรียนจะมีระเบียบวินัยและความอดทน
ผลเสีย : เป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้น อาจจะไม่ได้ผลในระยะยาว
ในฐานะครู จะแนะนำนักเรียนอย่างไร
                ควรจะลูกฝังนักเรียนตั้งแต่เล็ก ๆ ว่าการกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่ไม่ดี เป็นปัญหาต่อสังคม นักเรียนไม่ควรปฏิบัติตามอย่างเด็ดขาด

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน1


แนะนำตัว


ดิฉันชื่อนางสาวสุชาดา  นามสกุล เกื้อเส้ง ชื่อเล่น ไฝ  รหัสนักศึกษา 5411103091
         ดิฉันเกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2535 ที่โรงพยาบาลเบตง มีพี่สาว 1 คน ดิฉันเป็นคนสุดท้อง ดิฉันอาศัยอยู่กับป้าตั้งแต่เด็ก จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ไปอยู่กับพ่อและแม่ที่ อ.เบตง จ.ยะลา เนื่องจาก พ่อแม่ของดิฉันทำงานอยู่ที่เทศบาลตำบลเบตงและอาศัยอยู่ที่เบตงตั้งแต่ก่อนดิฉันจะเกิด และเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก็ได้กลับมาอยู่กับป้าที่จังหวัดตรัง จนถึงปัจจุบัน อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 86/2 หมู่ 3 ต.ในควน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง พ่อของดิฉันเสียชีวิตเมื่อปี 2556 ปัจจุบันแม่ก็ยังอาศัยอยู่ที่เบตง และยังทำงานอยู่ห้องทะเบียนราษฎ์ เทศบาลเบตง ซึ่งดิฉันก้บแม่จะได้เจอกันแค่ช่วงเทศกาลเท่านั้น เพราะแม่ของดิฉันไม่ชอบให้ดิฉันเดินทางไปหาแม่เท่าไหร่ เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของดิฉัน แม่ของดิฉันจึงจะเดินทางมาหาดิฉันที่ จ.ตรัง


ประวัติการศึกษา
         จบการศึกษาระดับอนุบาลจาก โรงเรียนวัดนิกรรังสฤษ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนบ้านพรุโต๊ะปุก อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง  ศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่โรงเรียนบ้านเบตงสุภาพอนุสรณ์ อ.เบตง จ.ยะลา ต่อมาได้มาศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ได้ศึกษาสายวิทย์คณิต ที่โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง และในระดับมหาวิทยาลัย เมื่อปีการศึกษา 2554 ภาคเรียนที่ 1 ได้ศึกษาอยู่สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  และเมื่อปีการศึกษา 2554 ภาคเรียนที่ 2 ได้ย้ายมาศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณทิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชจนถึงปัจจุบัน

ปรัชญาชีวิต
        อย่ามัวจมอยู่กับอดีต  อย่ามัวแต่ฝันถึงอนาคต  จงตั้งจิตมั่นอยู่ในปัจจุบันทุกขณะ