วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สอบปลายภาค


ข้อสอบปลายภาค
คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7  ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน
____________________________________________________

1. กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง      ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ
ตอบ    กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาเหมือนกัน เนื่องจากกฎหมายเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่มีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของวิกฤติการณ์ทางสังคม กฎหมายทั่วไปมีเพื่อให้สังคมไทยเป็นระเบียบ เรียบร้อย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรม ต่างๆ ล้วนแล้วแต่ระบุโทษอย่างชัดเจน หากไม่มีกฎหมายเหล่านี้คนก็จะกระทำสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด และปัญหาของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในสังคมไทยนั้น อันที่จริงก็สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัญหาทางการศึกษาเพราะถ้าหากการจัดการศึกษาสามารถนำเอาความรู้และเทคโนโลยีเข้าสู่กระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรมได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และถ้าหากการศึกษาสามารถพัฒนาทักษะ ฝีมือ ความรู้ ความชำนาญการของแรงงานไทยให้สอดคล้องกับความทันสมัยของเทคโนโลยีในปัจจุบัน และหากการศึกษาสามารถสร้างผู้นำรุ่นใหม่ได้จริง และสร้างความรู้พื้นฐานทางประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ได้ เราก็คงจะได้ผู้นำทางการเมืองที่มีประสบการณ์ความรู้ในการบริหารบ้านเมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล คงจะไม่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและทางการเมืองดังที่ประสบอยู่


2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
ตอบ    รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา  พ.ศ.2540 มีสาระหลักที่สำคัญ คือ การจัดให้บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และ การจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุน ให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ
         รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา  พ.ศ.2550 มีสาระหลักที่สำคัญ คือ การจัดการศึกษาให้ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น และ จัดการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง

 3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ  
ตอบ    พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มี 20 มาตรา จัดทำขึ้นเพื่อให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่ส่งเสียให้บุตรหรือบุคคลที่อยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  ได้เรียนหนังสือ เพื่อที่จะให้เด็กได้มีความรู้ติดตัวไป มาตราที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและยึดถือปฏิบัติ คือ มาตรา  6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอ  ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด และมาตรา  13  ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา  6  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร  ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ    หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้       ในกรณีสอนทั้งปีเช่นนี้หากหมาย 1 ปีการศึกษา ก็จะหมายถึงนักศึกษาวิชาชีพครู ที่ต้องออกปฏิบัติในขั้นของการฝึกสอน นักศึกษาเหล่านี้ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎของมหาลัย และกฎของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด
          แต่ถ้าหากจะหมายถึง บุคคลที่เข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๖  กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ หรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
             เนื่องจากเหตุผลและความจำเป็นของสถานศึกษาในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งต้องใช้บุคคลเข้าประกอบวิชาชีพ เพื่อจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุที่ไม่สามารถสรรหาผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเข้ามาดำเนินการสอน มีมติอนุญาตให้บุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต ดังนี้
  คุณสมบัติการพิจารณาอนุญาต
            ผู้ที่จะขอเข้าประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
           ๑. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี
           ๒. มีคุณวุฒิตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                    (๑) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า
                    (๒) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี  ที่ ก.ค.ศ.รับรอง  ซึ่งกำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู  และเป็นวุฒิปริญญาในสาขาที่สอดคล้องกับระดับชั้นที่เข้าสอน ตามที่คุรุสภากำหนด ยกเว้นโรงเรียนในพระราชดำริ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนโครงการพิเศษต่างๆ ที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัด และมีคะแนนเฉลี่ย ๒.๕ ขึ้นไป โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร หรือโรงเรียนเสี่ยงภัย ตามประกาศของทางราชการ และจัดให้มีการอบรมในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนเบื้องต้นด้วย
          ๓. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
เงื่อนไขการอนุญาต
          ๑. สถานศึกษาชี้แจงเหตุผลความจำเป็น หรือความขาดแคลน ต้องรับบุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู  
          ๒. สถานศึกษาจะต้องแนบประกาศการรับสมัครและการสรรหาบุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู
          ๓.  สถานศึกษาจะต้องแนบคำสั่งของคณะกรรมการของสถานศึกษาในการคัดเลือกบุคคลเข้าประกอบชาชีพครู
           
 ๔. สถานศึกษาต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะราย ผ่านต้นสังกัด โดยจะต้องปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาตเท่านั้น ภายใต้การควบคุมของผู้บริหารสถานศึกษา
           ๕. ระยะเวลาการอนุญาตครั้งละไม่เกิน ๒ ปี และต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต่อไป
๖. หากผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ฝ่าฝืนจรรยาบรรณของวิชาชีพ หรือปฏิบัติการสอนผิดเงื่อนไข หรือไม่สามารถพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการอนุญาต การอนุญาตดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุด

5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ   สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  ในการทารุณกรรมในที่นี้ ไม่ว่าจะเป็นการทารุณกรรมทางด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม คนเป็นครูจะต้องไม่ประพฤติกับเด็กเช่นนี้ สมบัติเป็นครูที่แย่มาก ก็จะต้องได้รับโทษตามที่สถานศึกษากำหนด และหากเด็กนักเรียนไม่ยอมก็อาจจะต้องมีการขึ้นศาลเพื่อสู้คดีกันต่อไป และในทางกฎหมายอาญามาตรา 398 ที่ว่าผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทารุณ ต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ซึ่งต้องพึ่ง ผู้นั้นในการดำรงชีพหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่ง เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2  และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   ประเด็นแรกที่จะต้องมีความรู้และนำไปใช้ได้คือ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะเราเปรียบเหมือนเป็นบุคลากรทางการศึกษา ถึงเราจะไปอยู่ในสถานศึกษาในระยะเวลาอันสั้น แต่เราก็จะต้องทราบในระเบียบต่างๆ ที่จะต้องปฏิบัติ อย่างเช่น ในกรณีที่เรามีเหตุจำเป็นที่จะต้องลาโรงเรียน เราก็จะต้องทราบว่า ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ เป็นอย่างไร
          ประเด็นที่สองที่จะต้องมีความรู้และนำไปใช้คือ ระเบียบการศึกษาที่ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน เพราะ เมื่อเราไปเป็นครูที่โรงเรียนนั้น หากเราพบเห็นนักเรียนที่กระทำความผิด เราก็จะต้องลงโทษ ฉะนั้นเราควรที่จะมีความรู้ในระเบียบการศึกษาที่ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน ว่าเราควรจะลงโทษนักเรียนได้ในระดับไหน เพื่อที่จะไม่เป็นผลเสียต่อตัวเราและตัวนักเรียน

7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บบล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป
ตอบ การใช้ เว็บบล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่สะดวกในการเรียนการสอน เพราะเราสามารถศึกษาและค้นคว้าได้ทุกที่ ที่มีอินเตอร์เน็ต สะดวกในการทำงานส่ง ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการถ่ายเอกสาร เป็นการจัดการศึกษาที่ถือว่าอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนและผู้สอนได้อย่างเต็มที่ และยังประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย ซึ่งในรายวิชานี้หากต้องใช้เอกสารในการประกอบการเรียนการสอนก็จะต้องมีเอกสารมากมาย หากใช้เงินในการถ่ายเอกสารก็จะเยอะพอสมควร ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เมื่อมีเว็บบล็อก (weblog) เราก็สามารถศึกษาเอสสารได้จากที่อาจารย์โพสใน เว็บบล็อก (weblog) ของอาจารย์ได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น